หางนกยูง
ชื่อวิทยาศาสตร์: Caesalpinia pulcherrima Sw .
ชื่ออื่น: ขวางยอย (นครราชสีมา), จำพอ, ซำพอ ( แม่ฮ่องสอน), ซมพอ, ส้มผ่อ, ส้มพอ (ภาคเหนือ), นกยูงไทย
วงศ์: LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:
ไม้พุ่ม สูง 3 -4 ม. ลำต้นเกลี้ยงหรือมีหนาม แตกกิ่งก้านสาขาจำนวนมาก เรือนยอดโปร่ง
ใบ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้นปลายคู่ เรียงสลับมีใบย่อย 7-11 คู่ ใบย่อยออกเป็นคู่เรียงตรงข้ามกัน รูปรีแกมขอบขนานหรือรูปไข่กลับ ปลายใบมนหรือเว้า ฐานใบมนหรือเบี้ยว ขอบใบเรียบ ผิวด้านหลังใบสีเข้มกว่าด้านท้อง
ดอก ดอกช่อออกบริเวณซอกใบ ปลายกิ่ง หรือส่วนยอดของต้น ดอกมีหลายสีตามพันธุ์ กลีบดอก 5 กลีบ กลีบใหญ่ 4 กลีบ
กลีบเล็ก 1 กลีบ รูปช้อน ขอบกลีบหยักเป็นคลื่น เกสรเพศผู้ 10 อัน เกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่อยู่เหนือฐานรองดอก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ โคนเชื่อม ปลายแยก
ผล ผลเป็นฝักแบน เมล็ดรูปแบนรี