กล้วย

 
   
   
     
     
     
     
 
 
     

วิทยาศาสตร์ : Musa ABB cv. Kluai 'Namwa'

ชื่อสามัญ : Banana, Cultivated banana

วงศ์ : Musaceae

ชื่ออื่น : กล้วยมะลิอ่อง (จันทบุรี) กล้วยใต้ (เชียงใหม่, เชียงราย) กล้วยอ่อง (ชัยภูมิ) กล้วยตานีอ่อง (อุบลราชธานี)

ลักษณะทั่วไป

เป็นพืชล้มลุก ลำต้นใต้ดินอวบน้ำ สูงประมาณ 2-5 เมตร ใบ เป็นใบเดี่ยว การเกาะติดของใบบนลำต้นแบบเวียนถี่ชิดอัดแน่นที่ลำต้น ใบรูปขอบขนาน ขนาดใหญ่ประมาณ 40 x 200 เซนติเมตร ปลายและโคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มด้านใต้สีอ่อนกว่าและมีสิ่งเกาะติดคล้ายผงแป้งสีขาว ก้านใบ แบ่งเป็นสองส่วน ส่วนแรกเกาะติดกับลำต้นมีลักษณะแบนโค้งอวบน้ำสีเขียวบนน้ำตาลแดง (ส่วนนี้เห็นคล้ายลำต้น) ส่วนที่สองทรงกลมส่วนกลางเป็นร่องโค้งลึกตามทรงก้านสีเขียวอ่อนยาวเรียวไปจนสุดปลายแผ่นใบ ดอก ออกเป็นช่อ ที่ปลายยอดปลายช่อโค้งห้อยลง มีกาบประดับขนาดใหญ่ที่โคนกลุ่มดอกย่อยทุกๆ กลุ่ม กาบมีเนื้อหนาสีแดงเข้ม เมื่อรังไข่เจริญเป็นผลกาบประดับจะหลุดร่วงไป ผล เป็นผลสด รูปทรงกระบอก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 เซนติเมตร ยาว 10 เซนติเมตร เมล็ด ทรงกลมสีดำผิวเป็นคลื่น ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.50 เซนติเมตร

สรรพคุณ

ราก - แก้ขัดเบา

ต้น - ห้ามเลือด แก้โรคไส้เลื่อน

ใบ - รักษาแผลสุนัขกัด ห้ามเลือด

ยางจากใบ - ห้ามเลือด สมานแผล

ผล - ผล : ดิบหรือห่าม ใช้รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ และเป็นแผล และแก้ท้องเสียไม่รุนแรง ผล : สุก ใช้เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้ท้องอืด ป้องกันโรคโลหิตจาง โรคเลือดออกตามไรฟัน บำรุงกระดูก ฟัน และเหงือกให้แข็งแรง ลดการเจ็บคอ เจ็บหน้าอกที่มีการไอแห้งร่วม

กล้วยน้ำว้าดิบ - มีฤทธิ์ฝาดสมาน ใช้แก้อาการท้องเดิน แก้โรคกระเพาะ และอาหารไม่ย่อย

กล้วยน้ำว้าสุกงอม - เป็นอาหาร ยาระบาย สำหรับผู้ที่อุจจาระแข็ง หรือเป็นริดสีดวงทวารขั้นแรกจนกระทั่งถ่ายเป็นเลือด

หัวปลี - (ช่อดอกของต้นกล้วย จำนวนไม่จำกัด) ขับน้ำนม

 
กลับหน้าหลัก